สถิติ
เปิดเมื่อ2/07/2021
อัพเดท19/03/2023
ผู้เข้าชม14559
แสดงหน้า19903
ปฎิทิน
June 2023
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

กาแฟอาราบิก้า

อ่าน 454 | ตอบ 0
กาแฟอาราบิก้า.สรรพคุณ
กาแฟอาราบิก้า การดื่มกาแฟเป็นประจำจะทำให้เราสดชื่นกระชุ่มกระชวยและทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น.กาแฟยังช่วยลดการเกิด .oxidative stress ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายและยังช่วยเพิ่มการทำงานของเอนไซนม์ในการกำจัดสารที่เป็นอันตรายด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดการเกิดเซลล์มะเร็งและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง การดื่มกาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสันโรคอัลไซเมอร์ มีงานวิจัยพบว่ากาแฟให้ผลการป้องการอักเสบและอาจป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ดื่มกาแฟเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวานชนิดที่2 (ร่างกายต่อต้านอินซูลิน)และมีความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจต่ำกว่าผู้ไม่ดื่มถึง53% คาฟาอินในกาแฟปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยลดความหงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้าและความเครียดได้อีกทั้งเนื้อกาแฟยังมี แร่ธาตุไนแทซเซียมและไนอาซีน ซึ่งเป็นวิตามินบี ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ เมล็ดกาแฟมีคาฟาอินเป็นยากระตุ้นหัวใจยากระตุ้นปราสาทส่วนกลางมีฤทธิ์ ขับปัสสาวะ จากทดลองพบว่าการดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็วความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเพราะมีสารTheo bromine อาจจะทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟยังลดการดูดซึมธาตุเหล็กอีกด้วยจึงควรระวังในการดื่มกาแฟโดยเฉพาะขณะท้องว่าง กาแฟที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบันคือกาแฟชนิดอาราบิก้าซึ่งถือว่าเป็นกาแฟชั้นเยี่ยมมีกลิ่นและรสชาติดีกว่ากาแฟชนิดอื่นจึงเป็นกาแฟที่ปลูกกันเป็นส่วนใหญ่ กาแฟชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอธิโอเปียและซูดานมีผู้นำไปปลูกครั้งแรกที่ประเทศเยเมนต่อมาจึงแพร่ขยายไปทั่วโลกในประเทศเขตร้อน ที่เหมาะสมซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ชาวอาหรับเป็นกลุ่มแรกที่รู้จักนำกาแฟมาปรุงเป็น เครื่องดื่มโดยเริ่มจากการใช้ใบมาชงน้ำร้อนก่อนต่อมาจึงใช้เมล็ดกาแฟซึ่งมีกลิ่นและรสชาติดีกว่าชาวอาหรับเรียกกาแฟว่า กาแว (khawah)ซึ่งอาจจะกลายมาจากคำว่า กาฟฟา(kaffa)ซึ่งเป็นซื่อมณฑลหนึ่งของเอธิโอเปียที่มีต้นกาแฟขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่มาก ในภาษาอังกฤษเรียกกาแฟว่า coffee ส่วนชาวไทยในอดีตเรียกว่าข้าวแฟน ดังปรากฏอยู่ในหนังสือสัพพะวัจนะภาษาไทยของบาทหลวงปาเลอกัว
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :